LinuxSIS คืออะไร

LinuxSIS คืออะไร

sis

ลินุกซ์ซิส (Linux SIS : Linux School or Small Office Internet Server) คือ ชุดซอฟต์แวร์ สำเร็จรูป ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาระบบปฏิบัติการของคนไทยที่ทำหน้าที่เป็น อินเทอร์เน็ต หรือ อินทราเน็ตเซิร์ฟเวอร์ (Internet / Intranet Server) ให้กับหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ได้นำไปประยุกต์ใช้ เพื่อลด ต้นทุนด้านซอฟต์แวร์ที่ต้องใช้

ลินุกซ์ซิส เป็นชุดซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่นำไปติดตั้งกับเครื่องคอมพิวเตอร์ธรรมดาทั่วๆ ไป (PC : Personal Computer) หรือเครื่องแม่ข่ายธรรมดา (Server PC Base) ให้กลายเป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server เครื่องแม่ข่าย) ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อให้บริการแก่เครื่องคอมพิวเตอร์ภายใน / ภายนอกโรงเรียน หรือหน่วยงานต่างๆ โดยมีบริการให้เลือกใช้อย่างมากมาย ตัวอย่างเช่น Web server, Mail server, Proxy/Cache Server และ DNS server เป็นต้น และยังมีซอฟต์แวร์เสริมต่างๆ อีกมากมายที่ช่วยให้การทำงานต่างๆ ง่ายขึ้น (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่หัวข้อ feature)

ทางผู้พัฒนาหวังเป็นอย่างยิ่งว่ำลินุกซ์ซิสจะเป็นซอฟต์แวร์ตัวหนึ่งที่จะเป็นประโยชน์กับหน่วยงาน หรือองค์กรของคุณ

LinuxSIS 5.0 เหมาะกับงานอะไร

LinuxSIS 5.0 เหมาะกับงานอะไร

50

สำานักงานขนาดเล็กที่ไม่ได้ต่อ Internet – มีผู้ใช้ไม่มากสามารถนำ LinuxSIS 5.0 ไปใช้จัดการ Network (DHCP Server) ให้กับเครื่องลูกข่ายในสำนักงาน สร้าง และจัดกลุ่มผู้ใช้ตามสายงาน และสร้างระบบ Backup ของสำนักงาน (File Sharing + CD/DVD Backup) ตลอดจนใช้ e-mail ภายในองค์กร (Intranet Mail)

สำานักงานขนาดกลาง และเล็ก ที่ต่อ Internet โดยผ่านอุปกรณ์ Share Internet สามารถนำ LinuxSIS 5.0 ไปใช้เป็นเครื่อง Share Internet ได้ ซึ่งนอกจากจะ Share Internet แล้ว LinuxSIS 5.0 ยังจะทำหน้าที่จัดการ Network (DHCP Server) ให้กับเครื่องลูกข่ายในสำนักงาน และยังเพิ่มประสิทธิภาพการเชื่อมต่อ Internet ด้วยการเก็บข้อมูลต่างๆ (DNS Cache และ Proxy Server) ไว้ชั่วคราว โดยไม่ต้องปรับแต่งใดๆ ที่เครื่องลูกข่าย (Tranparance Proxy Server) ทำให้ประหยัดเงิน และเวลำในการต่อเชื่อม Internet LinuxSIS 5.0 มี Tools ซึ่งใช้วิเคราะห์การใช้งาน Internet ในองค์กร (webalizer) เพื่อให้ท่านตรวจสอบ ประเมิน และยังสามารถควบคุมได้ว่ำ Website ใดไม่เหมาะสม (Squid Gard ) ป้องกันผู้บุกรุกจากภายนอก และระบุได้ว่ำโปรแกรมด้าน Network ใดๆ ไม่อนุญาติให้ใช้ (Firewall) นอกจากนี้ ยังสามารถนำ LinuxSIS 5.0 ไปใช้เป็น Mail Server ได้ทั้ง Mail ภายในองค์กรเท่ำนั้น (Intranet) หรือ Internet Mail คือ เป็นเครื่อง Mail Server หลักขององค์กร (ต่อ Internet และเปิดเครื่องไว้ตลอดเวลา)

สำนักงานกลางขึ้นไป ที่ต่อ Internet สามารถนำ LinuxSIS 5.0 ไปติดตั้งบนเครื่อง Server หลายๆ เครื่อง เพื่อช่วยกันทำงาน เช่น

เครื่องแรก ใช้เป็นเครื่อง Share Internet ซึ่งจะทำหน้าที่ Share Internet พร้อมระบบ Cache เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการเชื่อมต่อ Internet (DNS Cache และ Proxy Server) และระบบรักษาความปลอดภัยของหน่วยงาน (Firewall) โดยอำจจะแยก Lan Card แต่ละใบสำหรับเครื่องลูกข่ายในแต่ละกลุ่ม (LinuxSIS 5.0 สามารถทำได้ แต่ไม่มี WebminTools สำหรับแยกให้)

เครื่องที่สอง ใช้เป็นเครื่อง Mail Server ซึ่งสามารถเลือกได้ว่ำเป็นโหมดไหน คือ Mail Server ภายในองค์กร (Intranet) หรือ Internet Mail Server

เครื่องที่ 3 File Sharing นอกจากผู้ใช้แต่ละคนจะมีพื้นที่บนเครื่อง LinuxSIS 5.0 ไว้เก็บข้อมูลแล้ว อาจจะมีการจัดการพื้นที่ตำมกลุ่มของผู้ใช้ เช่น อำจจะให้มีการ Share Folder สำหรับแต่ละกลุ่มได้

เตรียมความพร้อมก่อนใช้ลีนุกซ์

เตรียมความพร้อมก่อนใช้ลีนุกซ์

51

ก่อนที่จะทำการติดตั้งก็ต้องเตรียมความพร้อมทางด้านอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้เป็นที่เรียบร้อยก่อน ระบบลีนุกซ์ต้องการฮาร์ดแวร์ที่มีคุณสมบัติขั้นต่ำสุดดังต่อไปนี้

1. หน่วยประมวลผลกลางของ Intel 80386 ขึ้นไป

2. หน่วยประมวลผลทางคณิตศาสตร์ มีหรือไม่มีก็ได้ เพราะระบบปฏิบัติการ Red Hat Linux ได้มีการจำลองหน่วยประมวลผลทางคณิตศาสตร์ไว้ในระดับของเคอร์เนล (Kernel) แล้ว

3. หน่วยความจำอย่างน้อย 8 เมกะไบต์ แต่แนะนำให้มีอย่างน้อย 16 เมกะไบต์จะทำให้ระบบมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า

4. ฮาร์ดดิสก์อย่างน้อย 101 เมกะไบต์ สำหรับการติดตั้งแบบพื้นฐาน 266 เมกะไบต์ สำหรับการติดตั้งแบบทั่วไป และ 716 เมกะไบต์ สำหรับการติดตั้งแบบทั้งหมดตัวเลขที่ระบุทั้งหมดเฉพาะส่วนระบบปฏิบัติการ ถ้าต้องการใช้เป็น File Server หรือ Database Server จะต้องเผื่อเนื้อที่ไว้สำหรับใช้งานด้วย ส่วนแหล่งของโปรแกรมลีนุกซ์นั้นสามารถหาได้ฟรีตามเว็บไซท์ เช่น http://www.linux.org/dist/ftp.html

สิ่งที่ควรทราบก่อนการติดตั้ง

คุณสมบัติของฮาร์ดดิสก็ที่ต้องการติดตั้ง

จำนวนของฮาร์ดดิสก็ที่ต้องการติดตั้ง

ขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์ที่จะใช้ในการติดตั้ง

ประเภทการเชื่อมต่อของฮาร์ดดิสก์ที่จะใช้ในการติดตั้ง IDE, EIDE หรือ SCSI

มีการใช้ประเภทการเชื่อมต่อของฮาร์ดดิสก์หลายๆ ประเภทในเครื่องเดียวกันหรือไม่

ขนาดของหน่วยความจำหลัก เพื่อที่จะคำนวณหาขนาดของ Linux Swap Partition

ประเภทการเชื่อมต่อของเครื่องอ่านซีดีรอม IDE (ATAPI), SCSI

รุ่นและยี่ห้อของแผงวงจรเชื่อมต่อ SCSI

รุ่นและยี่ห้อของแผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย

จำนวนปุ่มกด และประเภทเชื่อมต่อของเมาส์

รุ่นและยี่ห้อของแผงวงจรเชื่อมต่อจอภาพ รุ่นและยี่ห้อของจอภาพ

รายละเอียดการกำหนดโปรโตคอล TCP/IP ของเครื่องที่ต้องการติดตั้ง

IP Address

Net Mask

GateWay Address

Name Server Address

Domain Name

Host Name

Law และ License

Law และ License

52

การปฏิรูปกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Law) มีกฎหมายบังคับใช้ 6 ฉบับ

1. กฎหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transaction Law)

2. กฎหมายลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signatures Law)

3. กฎหมายอาชญกรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law)

4. กฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Fund Transfer Law)

5. กฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law)

6. กฎหมายลำดับรองของรัญธรรมนูณมาตรา 78 เกี่ยวกับการจัดโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน (Universal Access Law)

จุดเด่นของ LINUX

จุดเด่นของ LINUX

53

1. เป็นระบบที่ใช้ได้ฟรี

2. เป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิด

3. คอมแพติเบิลกับ Unix

4. ทำงานได้บน PC ทั่วไป

5. ทำงานร่วมกับ DOS และ Windows ได้

6. ใช้แฟ้มร่วมกับระบบปฏิบัติการอื่นได้

7. มีความสามารถด้าน network หลายรูปแบบ

8. มีประสิทธิภาพสูงในการใช้ Hardware

9. Kernel มีประสิทธิภาพสูง

10. มีการใช้ Dynamic linked shared libraries

11. การช่วยเหลือเมื่อเกิดปัญหา

การรักษาความปลอดภัย (Security)

การรักษาความปลอดภัย (Security)

54

1. Firewall

Firewall คือ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่องค์กรต่างๆมีไว้เพื่อป้องกันเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในของตนจากอันตรายที่มาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายนอก เช่น ผู้บุกรุก หรือ Hacker Firewall จะอนุญาตให้เฉพาะข้อมูลที่มีคุณลักษณะตรงกับเงื่อนไขที่กำหนดไว้ผ่านเข้าออกระบบเครือข่ายภายในเท่านั้น อย่างไรก็ดี Firewall นั้นไม่สามารถป้องกันอันตรายที่มาจากอินเทอร์เน็ตได้ทุกรูปแบบ ไวรัสก็เป็นหนึ่งในนั้น ดังนั้นจึงไม่สามารถรับรองได้ว่าความปลอดภัยหรือความลับของข้อมูลจะมีอยู่ร้อยเปอร์เซนต์ถึงแม้ว่าจะมีการใช้ Firewall แล้วก็ตาม

เครื่องบริการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล มีหลายที่หลายด้าน เช่น กรองแพ็กเกจ เฝ้าตรวจ ตรวจสอบการใช้ bandwidth หรือเก็บข้อมูลที่ local host ใช้งานบ่อย ไว้ให้ local host อื่น ๆ เรียกใช้ด้วยความเร็ว ซึ่งหลักการของ firewall ที่สำคัญมีดังนี้

1. ให้บริการเฉพาะที่ต้องการเปิด

2. ให้บริการใครบ้าง

3. ให้สมาชิกในแต่ละกลุ่ม สามารถใช้ได้เฉพาะที่เหมาะสม

4. กำหนดความปลอดภัยอย่างไร ให้แต่ละบริการ

Firewall ประกอบด้วย

1. Package filters เป็นหน้าที่ของ router ทำหน้าที่กรอง IP(Internet Protocol) TCP(Transmission Control Protocol) และ UDP(User Datagram Protocol) ถ้าข้อมูลที่ส่งมาไม่เป็นไปตามกฎ ก็จะเข้าเครือข่ายไม่ได้

2. Proxy server ทำให้เครื่องภายนอกทั้งหมดไม่รู้จักเครื่องภายในเครือข่าย เพราะทุกกิจกรรมต้องผ่านการแปลง IP ของ Proxy server

A firewall is a set of related programs, located at a network gateway server, that protects the resources of a private network from users from other networks. (The term also implies the security policy that is used with the programs.) An enterprise with an intranet that allows its workers access to the wider Internet installs a firewall to prevent outsiders from accessing its own private data resources and for controlling what outside resources its own users have access to.

Basically, a firewall, working closely with a router program, filter all network packet to determine whether to forward them toward their destination. A firewall also includes or works with a proxy server that makes network requests on behalf of workstation users. A firewall is often installed in a specially designated computer separate from the rest of the network so that no incoming request can get directly at private network resources.

There are a number of firewall screening methods. A simple one is to screen requests to make sure they come from acceptable (previously identified) domain name and Internet Protocol addresses. For mobile users, firewalls allow remote access in to the private network by the use of secure logon procedures and authentication certificates.

คำสั่ง (Command)

คำสั่ง (Command)

55

คำสั่งน่ารู้ในระบบปฏิบัติการ Unix หรือ Linux

man แสดงคำอธิบายคำสั่ง เพื่อช่วยในการนำไปใช้

ls แสดงรายชื่อแฟ้มใน directory ปัจจุบัน

id แสดงชื่อผู้ใช้คนปัจจุบัน

who แสดงชื่อผู้ใช้ที่กำลัง online อยู่

pwd แสดงชื่อ directory ปัจจุบัน

date แสดงวันที่ และเวลาปัจจุบัน

banner (คำสั่งนี้ใช้งานไม่ได้ใน RedHat 9)

ps แสดงกระบวนการที่กำลังทำงานอยู่

kill ยกเลิกกระบวนการที่กำลังทำงานอยู่

mail ส่งอีเมล

sort จัดเรียงข้อมูลใน text file

clear ล้างจอภาพ

more แสดงข้อมูลจาก text file แบบแยกหน้า

passwd เปลี่ยนรหัสผ่าน

cal แสดงปฏิทิน

echo แสดงตัวอักษร

talk สนทนากับผู้ใช้ในระบบ

grep ค้นหาตัวอักษรจาก text file

Process handling commands from http://www.linuxforum.com/linux/sect_04_05.html

at Queue jobs for later execution.

atq Lists the user’s pending jobs.

atrm Deletes jobs, determined by their job number.

batch Executes commands when system load level permits.

crontab Maintain crontab files for individual users.

halt Stop the system.

init runlevel Process control initialization.

jobs Lists currently executing jobs.

kill Terminate a process.

mesg Control write access to your terminal.

netstat Display network connections, routing tables, interface statistics,

masquerade connections and multicast memberships.

nice Run a program with modified scheduling priority.

ps Report process status.

pstree Display a tree of processes.

reboot Stop the system.

renice Alter priority of running processes.

shutdown Bring the system down.

sleep Delay for a specified time.

time Time a command or report resource usage.

top Display top CPU processes.

uptime Show how long the system has been running.

vmstat Report virtual memory statistics.

w Show who is logged on and what they are doing.

wall Send a message to everybody’s terminals.

who Show who is logged on.

write Send a message to another user.

โครงสร้างของ Linux

โครงสร้างของ Linux

ความรู้เบื้องต้น ของ linux และ ประโยชน์ที่จะได้จากการใช้ระบบปฏิบัติการ Linuxโครงสร้างของระบบปฏิบัติการ linux

ลีนุกซ์ที่ ไลนัสและนักพัฒนาร่วมกันพัฒนาขึ้น เป็นเพียงส่วนที่เรียกกันว่า เคอร์เนล (Kernel) หรือแกนการทำงานหลักของระบบ แต่เคอร์เนลไม่สามารถทำงานตามลำพังได้ต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมและอุปกรณ์ อื่นๆ ดังรูป


โครงสร้างของลีนุกซ์

ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
คือ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งส่วนประกอบภายในและส่วนประกอบภายนอก อย่างเช่น แรม , ฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเป็นส่วนที่เรามองเห็นและจับต้องได้

เคอร์เนล (Kernel)
เคอร์เนลเป็นส่วนประกอบที่สำคุญของระบบ เรียกว่าเป็นแกนหรือหัวใจของระบบก็ว่าได้ เคอร์เนลจะมีหน้าที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของระบบ ตั้งแต่การจัดสรรทรัพยากรของระบบบริการโพรเซสงาน (Process) การจัดการไฟล์และอุปกรณ์อินพุต , เอาต์พุต บรหารหน่วยความจำ โดยเคอร์เนลจะควบคุมอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ของเครื่องทั้งหมด ดังนั้นเคอร์เนลจึงขึ้นอยู่กับฮาร์ดแวร์ ถ้าฮาร์ดแวร์เปลี่ยนรุ่นใหม่ เคอร์เนลก็จะต้องเปลี่ยนไปด้วย
ภายในเคอร์เนล จะประกอบไปด้วยโมดูล (Module) ต่างๆ และบางครั้งเราอาจจะเรียกโมดูลเหล่านี้ว่า ไดรเวอร์ (Driver) มีหน้าที่เป็นตัวกลางในการติดต่อกันระหว่างแอพพลิเคชันหรือ ระบบปฏิบัติการกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ทั้งหมด ทั้งภายในและนอกเครื่องคอมพิวเตอร์

เชลล์ (Shell)
เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างผู้ใช้กับ Kernel โดยรับคำสั่งจากผู้ใช้ทางอุปกรณ์อินพุต อย่างเข่น คีย์บอร์ด ส่งให้ kernel ของระบบปฏิบัติการ เป็น command interpreter แล้วทำการแปลให้เป็นภาษาที่เครื่องเข้าใจ นอกจากนี้เชลล์ยังทำหน้าที่ในการควบคุมและกำหนดทิศทางของอินพุตและเอาท์พุต ได้ด้วยว่าจะให้เข้าหรือออกมาทางใด เช่น อาจกำหนดให้เอาต์พุตออกมาทางหน้าจอ หรือเก็บลงในไฟล์ก็ได้

shell แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. แบบ Command line ผู้ใช้จะติดต่อไปยัง kernel ผ่านทาง command line interface (CLI)
2. แบบ graphic ผู้ใช้ติดต่อผ่าน graphical user interface (GUI)

shell แบบ Command line บนระบบปฏิบัติการลินุกซ์ มีหลายชนิด เช่น Bourne shell (sh), Debian Almquist shell (dash), Bourne-Again shell (bash), C shell (csh) แต่ละชนิดจะมีรูปแบบคำสั่ง และ ขีดความสามารถแตกต่างกันออกไป

ใน การติดต่อกับ shell แบบ Command line จะติดต่อผ่านโปรแกรมเทอร์มินัล เช่น gnome-terminal , konsole , xterm

โปรแกรมประยุกต์ (Application)
คือ โปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในงานต่างๆ บนลีนุกซ์ อย่างเช่น Star Office (โปรแกรมจัดการทั่วไปในสำนักงานคล้ายกับ Microsoft Office) , Gimp (โปรแกรมแต่งภาพบนลีนุกซ์คล้ายกับ Photoshop) โดยที่โปรแกรมประยุกต์ต่างๆ เหล่านี้มีการพัฒนาร่วมกันโดยนักพัฒนาทั่วโลกและเผยแพร่ให้ดาวน์โหลดไป ใช้งานได้ฟรี จึงมีโปรแกรมสำหรับใช้งานบนลีนุกซ์เกิดขึ้นมากมาย

ประโยชน์ของระบบปฏิบัติการ linux

การที่ลีนุกซ์ได้รับความนิยมและมีผู้สนใจนำไปใช้งานเพิ่มมากขึ้น ก็เนื่องมาจากประสิทธิภาพการทำงาน ข้อดี และประโยชน์ของลีนุกซ์ซึ่งมีอยู่มากมาย โดยสามารถสรุปเป็นหัวข้อได้ดังต่อไปนี้

ลีนุกซ์ถอดแบบมาจากยูนิกซ์
ยูนิกซืเป็นระบบปฏิบัติการที่เก่าแก่และขึ้นชื่อมานานในเรื่องประสิทธิภาพ การทำงาน ลีนุกซ์เป็นการถอดแบบมาจากยูนิกซ์ ดังนั้นคุณสมบัติของยูนิกซ์เรื่องของระบบความปลอดภัย ความสามารถในการทำงานพร้อมกันหงายงาน (Multi Tasking) ใช้งานได้พร้อมกันหลายคน (Multi User) ประสิทธิภาพในการทำงานเป็นเซิร์ฟเวอร์รวมทั้งคุณสมบัติอื่นๆ อีกมากมาย จึงได้รับการถ่ายทอดมาสู่ลีนุกซ์ด้วย

ใช้งานลีนุกซ์ได้ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ลีนุกซ์และโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานบนลีนุกซ์จะอยู่ภายใต่ลิขสิทธิ์ ที่เรียกกันว่า General License (GPL) ซึ่งหมายความว่า เราสามารถนำลีนุกซ์มาใช้งานได้ฟรี นำไปใช้ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ปรับปรุงแก้ไขได้ตามต้องการ โดยซอร์สโค้ดที่ได้ทำการแก้ไขจะต้องเผยแพร่ให้ผู้อื่นใช้ได้ฟรีเหมือนกับ ต้นแบบ

ความปลอดภัยในการทำงาน
ลีนุกซ์เป็นระบบที่มีความปลอดภัยในการใช้งานสูง ก่อนที่จะเข้าไปใช้งานทุกครั้งจะมีการตรวจสอบโดยผู้ใช้ต้องทำการป้อนชื่อและ รหัสผ่าน เพื่อแสดงสิทธิในการใช้งาน (หรือที่เรียกว่าการ Log in) ให้ถูกต้องจึงจะเข้าใช้งานลีนุกซ์ได้

เสถียรภาพในการทำงาน
ลีนุกซ์มัเสถียรภาพในการทำงานสูง ปัญหาระบบล่มในระหว่างทำงานจะไม่ค่อยมีให้พบ โดยความสามารถพิเศษของลีนุกซ์อยู่ที่การตรวจสอบความสัมพันธ์ของโปรแกรมในการ ทำงาน เช่น ถ้าเราติดตั้งโปรแกรม 1 ลีนุกซ์จะทำการตรวจสอบว่าโปรแกรม 1 มีการเรียกใช้งานโปรแกรมอื่นทำงานด้วยหรือไม่ นอกจากนี้ถ้าทำการติดตั้งหรือลบโปรแกรมออกจากระบบ เราไม่ต้องบู๊ตเครื่องใหม่ สามารถทำงานต่อไปได้ทันที

สนับสนุนฮาร์ดแวร์ทั้งเก่าและใหม่
เทคโนโลยีของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ระบบปฏิบัติการโดยส่วนใหญ่มักจะออกมาเพื่อรองรับประสิทธิภาพการทำงานของ ฮาร์ดแวร์ที่พัฒนาขึ้น จนทำให้บางครั้งต้องการอัพเกรดเครื่องตาม แต่สำหรับลีนุกซ์จะยังคงสนับสนุนฮาร์ดแวร์เก่าให้สามารถใช้งานได้ โดยจะเพิ่มส่วนของการสนับสนุนฮาร์ดแวร์ตัวใหม่ลงไปเท่านั้น ทำให้เราไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนฮาร์ดแวร์ซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายลงไปได้มาก

ลีนุกซ์กับระบบเครือข่าย
จุดเด่นอีกเรื่องที่สำคัญของลีนุกซ์ก็คือ การใช้งานกับระบบเครือข่าย ลีนุกซ์สามารถใช้เป็นเซิร์ฟเวอร์ (Server) ในระบบเครือข่ายร่วมกับเครื่องไคลเอนท์ (Client) ซึ่งติดตั้งระบบปฏิบัติการอื่นได้ นอกจากนี้ลีนุกซ์ยังสนับสนุนโปรโตคอลในการทำงานกับระบบเครือข่ายมากมายอย่าง เช่น TCP/IP , DNS , FTP

ประวัติความเป็นมาของ Linux ที่พัฒนาโดยคนไทย

ประวัติของ Linux TLE

56

ลินุกซ์ทะเล (LinuxTLE) คือชื่อของระบบปฏิบัติการในลักษณะของลินุกซ์ที่ปัจจุบันพัฒนาต่อมาจากอูบุนตุโดยเพิ่มความสามารถภาษาไทย ปัจจุบันพัฒนาโดยเนคเทค โดยรุ่นปัจจุบันคือ ลินุกซ์ทะเล 9.0 รหัสว่า “หัวหิน” ที่เน้นการใช้งานสำหรับผู้ใช้ทั่วไป ทั้งการใช้ที่บ้าน ที่สำนักงาน ในสถานศึกษา สำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ทั้งคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะและคอมพิวเตอร์พกพา

ชื่อ TLE ย่อมาจากคำว่า Thai Language Extension ที่หมายถึงส่วนขยายภาษาไทย เพื่อบอกให้ทราบว่าเป็นชุดเผยแพร่ลินุกซ์ที่เน้นการใช้งานภาษาไทย โดยชื่อเรียก “ทะเล” นั้นเกิดจากการลากเข้าความในภายหลัง เพื่อให้ออกเสียงได้ง่าย และมีลักษณะความเป็นไทยแฝงอยู่

ลินุกซ์ทะเลได้รับการยกย่องให้เป็นดิสโทรยอดเยี่ยมประจำสัปดาห์จาก เว็บไซต์ดิสโทรวอตช์ ในเดือนธันวาคม 2547[1]

ประวัติ ลินุกซ์ทะเล เดิมพัฒนาโดยอาสาสมัครและได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง โดยในอดีตใช้ชื่อ MaTEL (Mandrake and Thai Extension Linux) MaTEL 6.0 ได้ออกมาในรูปซีดีในเดือนกรกฎาคม 2542

ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อจาก MaTEL เป็น Linux-TLE (ลินุกซ์ทีแอลอี) เพื่อแยกออกมาจากส่วนของแมนเดรก และออกรุ่น 6.01 และ 6.1 ในเดือนกันยายน 2542 โดยนอกจากเผยแพร่ในรูปซีดีแล้ว ยังมีการให้ดาวน์โหลดจากเว็บไซต์เนคเทคเอง และในปี พ.ศ. 2543 ทางเนคเทคได้รับมาเป็นผู้พัฒนาและเผยแพร่หลัก และได้ชื่อไทยว่า ลินุกซ์ ทะเล โดยมีสัญลักษณ์เป็นรูปโลมา ในรุ่น 3.0 จนถึงปัจจุบัน

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2547 ลินุกซ์ทะเลได้รับการยกย่องให้เป็นดิสโทรยอดเยี่ยมประจำสัปดาห์จาก เว็บไซต์ดิสโทรวอตช์[1][1]

ปัจจุบัน ลินุกซ์ทะเลพัฒนาเป็นรุ่น ลินุกซ์ทะเล 9.0 “หัวหิน”

ข้อมูลมาจาก http://th.wikipedia.org/wiki/

ประวัติลินุกซ์ซิส

ลินุกซ์ซิส (Linux SIS : Linux Simple Internet Server) เป็นระบบปฏิบัติการที่ ต้นแบบมาจาก ลินุกซ์(Fedora Core) ซึ่ง ถูกพัฒนาขึ้นโดย Nectec และทีม OpenTLE ซึ่งเป็นโครงการ รหัสเปิด (โอเพนซอร์ส) ซึ่งทุกคนสามารถพัฒนามันได้

LinuxSIS 5.0 กับโครงการโรงเรียนในฝัน

ความร่วมมือกับโครงการโรงเรียนในฝัน

ศูนย์เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้ร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ ในโครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน โดยผลักดันให้มีการนำโปรแกรมโอเพ่นซอร์สใช้งานในโรงเรียนที่ร่วมโครงการคือ

1.โปรแกรมจัดการเครื่องแม่ข่าย และระบบเครือข่าย ได้แก่ LinuxSIS 5.0
2.โปรแกรมจัดการสื่อการเรียนการสอนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ โปรแกรม Moodle
ซึ่งทั้งสองโปรแกรมนี้ ได้ติดตั้งไปกับเครื่องแม่ข่ายของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการทุกเครื่อง

ในปี 2548 เป็นช่วงเริ่มต้นของโครงการ ศูนย์ฯ โดยโครงการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ ได้ร่วมมือกับโครงการโรงเรียนในฝัน เพื่อผลักดันให้มีการกำหนด Spec ต่างๆ ในการจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับโรงเรียนในโครงการ และช่วยกำหนด Spec สำหรับเครื่องแม่ข่ายในโครงการ ทั้งนี้ ศูนย์ฯ โดยโครงการโอเพ่นซอร์สได้มีส่วนร่วม เพื่อจัดทำโปรแกรมต้นแบบ สำหรับจัดการเครื่องแม่ข่าย และระบบเครือข่าย และโปรแกรมจัดการสื่อการเรียนการสอนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ ศูนย์ฯ ได้ร่วมกับโครงการโรงเรียนในฝัน จัดตั้งเครื่องแม่ข่ายหลักของโครงการ (www.labschool.net) เพื่อเป็นที่รวมรวมข้อมูลต่างๆ ของโครงการ และเป็นระบบทดสอบหลักของโปรแกรมจัดการสื่อการเรียนการสอนผ่านระบบ อิเล็กทรอนิกส์ โดยฝากไว้ที่เครื่องแม่ข่ายของโครงการรองคุณภาพผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

ในปี 2549 ศูนย์ฯ ยังคงให้ความร่วมมือต่อเนื่องกับโครงการโรงเรียนในฝัน โดยในส่วนของโปรแกรมจัดการสื่อการเรียนการสอนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์นั้น ได้มีการย้ายเครื่องแม่ข่ายออกจากอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น ทางด้านโปรแกรมจัดการเครื่องแม่ข่าย และระบบเครือข่าย ศุนย์ฯได้พัฒนาขึ้นใหม่สำหรับโครงการนี้ โดยยังคงชื่อโปรแกรมเดิมที่เคยพัฒนาสำหรับเครือข่ายเพื่อโรงเรียนไทย คือ LinuxSIS (School Internet Server) และกำหนดให้เป็นรุ่นที่ 5

สำหรับ LinuxSIS 5.0 นั้น ศูนย์ฯ ได้พัฒนาขึ้นจาก Fedora Core 4 และได้ออกรุ่นทดสอบ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2549 เพื่อให้ทันกับโครงการโรงเรียนในฝันฯ นอกจากนั้น ศูนย์ฯ ยังได้ให้ความร่วมมือในการฝึกอบรม โดยได้ส่งพนักงานเข้าร่วมเป็นวิทยากรในการอบรมทั้งสองรุ่น โดยรุ่นแรก เป็นการอบรมครูผู้ดูแลเครื่องแม่ข่าย และระบบเครือข่ายทุกโรงเรียนทั่วประเทศ (แบ่งเป็น 4 ภาค – 4 รอบ) ในระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม – 14 มิถุนายน 2549 และรุ่นที่สอง นอกจากศูนย์ฯ จะได้สนับสนุนวิทยากรแล้ว ศูนย์ฯ ยังได้สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมอีกด้วย ในการอบรมครั้งนั้น เป็นการอบรมเพิ่มเติมในระดับลึกขึ้น สำหรับตัวแทนของแต่ละเขตการศึกษา เพื่อเป็นการสร้างผู้เชียวชาญ สำหรับให้การสนับสนุนเชิงเทคนิคแก่โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ โดยอบรมทั่วประเทศ (แบ่งเป็น 4 ภาค – 4 รอบ) ในระหว่างวันที่ 4 กันยายน – 20 กันยายน 2549 และหลังจากการอบรม ศุนย์ฯ โดยโครงการโอเพ่นซอร์ส ได้เปิดหน้าสนับสนุนไว้ใน WebSite ของโครงการ (http://www.opentle.org) อีกด้วย ซึ่งได้มีการสนับสนุนต่างๆ ผ่านระบบ Webboard และอื่นๆ (เช่น โทรศัพท์)

สำหรับปี 2550 นี้ ศูนย์ฯ ได้จัดให้มีการประชุม เพื่อปรึกษาแนวทางความร่วมมือ ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550 ซึ่งได้ข้อสรุปเบื้องต้น ดังนี้

1.โครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน จะเปลี่ยนชื่อเป็น โครงการโรงเรียนต้นแบบในฝัน (School Base Management : SBM)
2.สำหรับปีนี้ ถือเป็นกลุ่มที่สอง จะรับอำเภอละ 1 โรงเรียนเช่นเดิมแล้วเอามาคัดเอาโรงเรียนที่ค่อนข้างจะพร้อม จากตัวเลขประมาณการได้ 879 โรง
3.ปีนี้จะจัดอบรมให้ทุกโรงเรียน (เหมือนอบรมรอบแรกของรุ่นแรก) โดยจะอบรมครั้งเดียวทั้งสองเรื่อง คือ โปรแกรมจัดการเครื่องแม่ข่าย และระบบเครือข่าย และ โปรแกรมจัดการสื่อการเรียนการสอนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
4.อบรมประมาณ 5 รอบ (5 ภูมิภาค) ในช่วงเดือน มิถุนายน 2550
สำหรับกลุ่มแรก จะผลักดันให้มีการจัดตั้ง ศูนย์ ICT ของโรงเรียนในฝัน 20 ศูนย์ฯ และเพิ่มของเชียงใหม่อีก 2 ศูนย์ฯ รวมทั้งสิ้น 22 ศูนย์ฯ โดยศูนย์ฯ เหล่านี้ จะมีหน้าที่ให้การสนับสนุนโรงเรียนในเขตการศึกษาต่างๆ (175 เขต ที่ได้อบรมไปเมื่อช่วงเดือน กันยายน 2549) และเนคเทคจะให้การสนับสนุนศูนย์ฯ เหล่านี้อีกชั้นหนึ่ง โดยจะมีการประชุมกันอีกครั้งหนึ่งในเรื่องของการประสานงาน และกิจกรรมต่างๆ ระหว่าง 22 ศูนย์ฯ กับเนคเทค

ประวัติของ Suriyan
Suriyan เป็นซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้งานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป โดย SIPA เห็นว่าการที่ประชากรในชาติจะต้องใช้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการที่เป็น ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์นั้น นอกจากจะสิ้นเปลืองและไม่ปลอดภัยแล้ว เราจะไม่สามารถใช้งานได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย ทาง SIPA จึงพัฒนาระบบปฏิบัติการ Suriyan ที่เป็นระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์สทั้งระบบขึ้นมาให้ใช้งาน

Suriyan เป็นโครงการพัฒนาลินุกซ์ของสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรม ซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือที่รู้จักกันในชื่อ SIPA เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการใช้ระบบปฏิบัติการลินุกซ์บนเครื่องเด สท็อป ซึ่งทาง SIPA เลือกใช้ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ Ubuntu มาเป็นฐานในการพัฒนา Suriyan เป็นลินุกซ์กึ่งสำเร็จรูป ไม่ได้รวมโปรแกรมที่น่าใช้งานไว้ทุกตัว แต่ Suriyan มาพร้อมกับความสามารถหลักของ Ubuntu ผนวกกับภาษาไทย ฟอนต์ไทย งานพัฒนาที่ได้รับการสนับสนุนจากนักพัฒนาอิสระ และชุดโปรแกรมพื้นฐาน ที่ทุกคนต้องใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นงานด้านสำนักงาน ด้านมัลติมีเดีย ด้านกราฟิกและโปรแกรมอรรถประโยชน์ต่างๆ สำหรับ Suriyan สามารถใช้คลังซอฟต์แวร์ (Software Repository) ของ Ubuntu ได้และยังสามารถใช้งานคลังซอฟต์แวร์ PPA โดยปกติ และยังสามารถอัพเกรดไปเป็น Ubuntu ในเวอร์ชันถัดไปได้อัตโนมัติ ซึ่งจะยังคงใช้งานชุดแพคเกจบางส่วนที่มาพร้อมกับ Suriyan ได้

Kernel รุ่นล่าสุดของ Linux

Kernel รุ่นล่าสุดของ Linux

57

kernel หรือตัวแกนหลักในเวอร์ชันล่าสุดของระบบ Linux ที่ได้ประกาศออกไปแล้วคือเวอร์ชัน 2.2.0

ซึ่งออกมาเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2542 (ซี่งก็มีการพบข้อผิดพลาดและปรับปรุงไปเป็น 2.2.1 ภายในอีก

ไม่กี่วันต่อมา) ซึ่ง kernel เวอร์ชันนี้ใหม่จะสนับสนุนฮาร์ดแวร์ และโปรโตคอลมากขึ้นกว่าเดิม และ

คาดกันว่าจะเป็น kernel ที่ค่อนข้างสมบูรณ์ที่สุดรุ่นหนึ่งทีเดียว

*ข้อสังเกตในเรื่องเลขรหัสเวอร์ชันของ Linux

ก็คือ ถ้ารหัสเวอร์ชันหลังทศนิยมตัวแรกเป็นเลขคู่

เช่น 1.0.x,1.2.x แสดงว่าเป็นเวอร์ชันที่มีเสถียรภาพพอสมควร คือสามารถนำไปใช้งานจริงได้ แต่ถ้า

เป็นเลขคี่ เช่น 1.1.x, 1.3.x จะถือว่าเป็นเวอร์ชันทดสอบ ซึ่งมักจะมีการเพิ่มเติมความสามารถใหม่ๆลง

ไปเรื่อยๆ และยังต้องทำการทดสอบหาข้อผิดพลาดต่างๆอยู่ เมื่อทดสอบจนเป็นที่พอใจ แล้วจึงจะ

ปรับรุ่นเป็นเลขคู่ เช่นจาก 1.5 เป็น 1.6 เพื่อเผยแพร่เป็นรุ่นที่ใช้งานจริงได้ต่อไป