คุณสมบัติของระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ – Linux

คุณสมบัติของระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ – Linux

59

มัลติทาสกิ้ง (Multi-tasking) คือ ทำงานหลายๆ อย่างพร้อมกันได้ในเวลาเดียวกัน ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการรอ โดยแบ่งการทำงานออกเป็น Foreground และ Background

มัลติยูสเซอร์ (Multi-user) Unix สามารถรองรับผู้ใช้ได้มากกว่า 1 คนในเวลาเดียวกันหรือพูดง่ายๆ ก็คือ ใช้งานได้หลายคนพร้อมกันนั่นเอง

ป็นระบบปฏิบัติการแบบหลายงาน และหลายผู้ใช้ (Multitasking & Multiuser) ที่สมบูรณ์แบบ ทำให้สามารถมีผู้ใช้งานพร้อมๆ กัน ได้หลายๆ คน และแต่ละคนก็

สามารถรันโปรแกรมได้หลายๆ โปรแกรมพร้อมๆ กัน

มีความเข้ากันได้ (Compatible) กับระบบ UNIX ส่วนมากในระดับ Source Code

ความสามารถในการสลับหน้าจอระหว่าง Login sessions ต่างๆ บนหน้าจอคอนโซล

ในเท็กซ์โหมดได้ (Pseudo Terminal, Virtual Console)

สนับสนุนระบบไฟล์หลายชนิด เช่น Minix-1, Xenix, ISO-9660, NCPFS,

SMBFS, FAT16, FAT32, NTFS, UFS เป็นต้น

สนับสนุนเครือข่าย TCP/IP ตลอดจนมีโปรแกรมไคลเอ็นต์ และเซิร์ฟเวอร์

สำหรับบริการต่างๆ ในอินเทอร์เน็ตทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น FTP, Telnet, NNTP,

SMTP, Gopher, WWW

Kernal ของ Linux มีความสามารถในการจำลองการทำงานของ

Math Processor 80387 ทำให้สามารถรันโปรแกรม ที่ต้องการใช้งานคำสั่ง

เกี่ยวกับ floating-point ได้

Kernal ของ Linux สนับสนุน Demand-Paged loaded executable คือ

ระบบจะเรียกใช้โปรแกรม เท่าที่จะใช้งานเท่านั้น จากดิสก์สู่หน่วยความจำ

เป็นการใช้หน่วยความจำอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการใช้หน่วยความจำ

ส่วนเดียว กับขบวนการหลายๆ ขบวนการพร้อมๆ กัน (Shared copy-on-write pages

สนับสนุน swap space มากถึง 2 GB ทำให้มีหน่วยความจำใช้งานมากขึ้น

จึงรัน Application ขนาดใหญ่ได้ และมีผู้ใช้งานได้พร้อมกันมากขึ้น

Kernal มีระบบ Unified Memory Pool สำหรับโปรแกรมและ Cache

ทำให้ Cache ปรับเพิ่ม-ลดขนาดได้โดยอัตโนมัติ ขณะที่มีการเรียกใช้

หรือไม่ใช้โปรแกรมใดๆ

โปรแกรมที่รันมีการใช้งาน Library ร่าวมกัน (Dynamically

Linked Shared Libraries) ทำให้โปรแกรมมีขนาดเล็ก และทำงานเร็ว

สนับสนุนการดีบัก (Debug) โปรแกรม และหาสาเหตุที่ทำให้โปรแกรม

ทำงานผิดพลาดได้

จากจุดเด่นนี้ทำให้พบว่าในปัจจุบันเรานิยมใช้ Unix เป็นระบบปฏิบัติการของเครื่อง Internet Server กันมาก

Leave a comment